วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 18 



สอบปลายภาค



การบันทึกครั้งที่ 17
วันพุธ ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.





วันนี้อาจารย์สอนทำแผนการจัดประสบการณ์การเคลื่อนไหวและจังหวะ

- อาจารย์ให้จับกลุ่มกัน 5 คน และให้ทุกคนช่วยกันคิดแผนที่เราจะใช้สอน
- อาจารย์ให้ทุกคนไปทำแผน คนละ 5 แผน และให้เลือกเอาแผนที่ตนเองจะ
สอนมา 1 แผน









การบันทึกครั้งที่ 16
วันจันทร์ ที่ 18 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.




เนื้อหาที่เรียน
วันนี้อาจารย์สอนการเคลื่อนไหวประกอบเพลง และเคลื่อนไหวอุปกรณ์
แล้วอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมาทำกิจกรรม 











วันพฤหัสบดี ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.

เนื้อหาที่เรียน
วันนี้อาจารย์สอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
- การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์ คือ เป็นการเตรียมอุปกรณ์และให้เด็กได้ฝึกความ
แข็งแรง ความคล่องแคล่วและการทำงานที่สัมพันธ์กันระหว่างระบบประสาทและ
กล้ามเนื้อ
- แลกอุปกรณ์โดยให้เด็กออกมาทีละคน
- ให้จับคู่ที่ได้สีเหมือนกัน
- ให้จินตนาการเอง
- ให้มีระดับต่ำ กลาง สูง
-  เก็บอุปกรณ์โดยให้เด็กไปนั่ง















ความรู้/ทักษะที่ได้รับ
- ได้รู้จักเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆมากขึ้น
- ได้รู้จักวิธีการสอนที่ถูกต้อง และการทำกิจกรรมจะช่วยให้เรามีสมาธิมากขึ้น
ได้ฝึกความกล้าแสดงออก การคิดและการวางแผน

บรรยากาศในห้องเรียน
- เพื่อนๆสนุกสนาน ห้องเรียนเย็นสบาย 

ประเมินตนเอง
- เข้าใจในการทำกิจกรรมมากยิ่งขึ้นและได้ความรู้เกี่ยวกับ
การสอนในรูปแบบต่างๆ

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์ใจดี น่ารัก สอนเข้าใจง่าย ละเอียดและคอยชี้แนะแนวอย่างอยู่สม่ำเสมอ





การบันทึกครั้งที่ 15 
วันจันทร์ ที่ 11 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.และ
วันพฤหัสบดี ที่ 14 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.





สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากหยุดช่วงเทศกาลสงกรานต์

การบันทึกครั้งที่ 14 
วันจันทร์ ที่ 4 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.





เนื้อหาที่เรียน
- อาจารย์ให้จับคู่กัน 2 คน แล้วออกไปสอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่ง
ข้อตกลง และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ





วันพฤหัสบดี ที่ 7 เมษายน พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.


วันนี้อาจารย์ให้ออกมาทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวในกลุ่มที่ยังไม่ออกมา





ความรู้/ทักษะที่ได้รับ
- ได้รู้จักการทำกิจกรรมในแบบต่างๆมากขึ้น
- การทำกิจกรรมช่วยให้มีสมาธิมากขึ้นและได้ฝึกคิดและวางแผน

บรรยากาศในห้องเรียน
- เพื่อนๆสนุกสนาน ห้องเรียนเย็นสบาย

ประเมินตนเอง
- เข้าใจการทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวต่างๆได้มากยิ่งขึ้น

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์ใจดี น่ารัก สอนเข้าใจง่ายและเป็นกันเอง



การบันทึกครั้งที่ 13 
วันจันทร์ ที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.


วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนๆที่ยังไม่สอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำบรรยายออกไป
สอนให้ครบทกคนแล้วจากนั้นอาจารย์ก็สอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
และตามคำสั่งใหม่









วันพฤหัสบดี ที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.




วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน









การบันทึกครั้งที่ 12 
วันจันทร์ ที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.



สัปดาห์นี้อาจารย์สอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำบรรยายโดยให้ออกมาสอนแต่ละคน

กิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย
1. ถ้าครูเคาะ 1 ครั้ง ให้ก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว
2. ถ้าครูเคาะ 2 ครั้งให้ก้าวไปข้างหน้า 2 ก้าว
3. ถ้าครูเคาะรัวช้าๆให้เคลื่อนไหวไปรอบๆห้องอย่างอิสระ
และถ้าครูเคาะติดกัน 2 ครั้ง ให้เด็กๆหยุดอยู่กับที่ 
- ต่อไปก็จะทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำบรรยาย อาจารย์ก็ให้เอาเนื้อหาที่ตนเองแต่งมา
แล้วก็บรรยายไปให้เด็กทำตามคำบรรยาย
- กิจกรรมผ่อนคลาย
ให้เด็กๆจับมือกันเป็นวงกลมแล้วนั่งลงแล้วให้นวดขมับ นวดแขน นวดขา 


















วันพฤหัสบดี ที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.


วันนี้อาจารย์สอนกิจกรรมการเคลื่อนไหวตามคำสั่งและข้อตกลง
1. ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน
2. กิจกรรมเคลื่อนไหวตามคำสั่งและข้อตกลง
เป็นกิจกรรมที่ใช้เครื่องเคาะกำหนดการสอน โดยจะมีมุมต่างๆติดไว้ข้างห้อง 
จะมีมุมบล็อก มุมดนตรี มุมบ้าน มุมหนังสือ
- ลักษณะสัญลักษณ์ ใช้เครื่องเคาะให้วิ่งไปมุมที่กำหนด กระโดด ทำท่าทางสัตว์ต่างๆ 
ไปที่มุมที่กำหนด
- ใช้ผลไม้แทนมุมได้ เช่น ส้มไปมุมดนตรี มะม่วงไปมุมบ้าน เป็นต้น
- ใช้รูปภาพ วงกลมจับคู่วงกลม สามเหลี่ยมจับคู่สามเหลี่ยมหรือจะได้วงกลมจับคู่กับสามเหลี่ยมก็ได้
3. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ นวดขมับ นวดแขน นวดขา





















ความรู้/ทักษะที่ได้รับ
- ได้ความรู้เรื่องเทคนิคการสอนในรูปแบบต่างๆมากขึ้น

บรรยากาศในห้องเรียน
- สนุกสนาน เย็นสบาย ไม่เครียด

ประเมินตนเอง
- ได้เรียนรู้การสอนต่างๆที่เรายังไม่เคยรู้จักและยังได้ฝึกทักษะการสอน

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
- เพื่อนสนุกสนาน ตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินอจารย์ผู้สอน
- อาจารย์ใจดี น่ารักและเป็นกันเอง


การบันทึกครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.




เนื้อหาที่เรียน
- แต่ละกลุ่มออกมาสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวพื้นฐาน กิจกรรมไหวแบบผู้นำผู้ตาม
และผ่อนคลายกล้ามเนื้อ




วันพฤหัสบดี ที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.

วันนี้อาจารย์สอนเคลื่อนไหวตามคำบรรยายโดยให้ทุกคนคิดเรื่องที่จะสอนแล้วออกมาทำกิจกรรม















ความรู้/ทักษะที่ได้รับ
- ได้ความรู้จากการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เราไม่เคยรู้จัก
- ได้เรียนรู้ทักษะการสอนแบบต่างๆ

บรรยายาศในห้องเรียน
- สนุกสนาน เย็นสบาย ไม่เครียด 

ประเมินตนเอง
- ได้รู้การสอนในแบบต่างๆ

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
- เพื่อนๆตั้งใจทำงานและตั้งใจทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์ใจดี น่ารัก สอนเข้าใจง่าย



การบันทึกครั้งที่ 10 
วันพฤหัสบดี ที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.





วันนี้ไม่ได้มาเรียนเพราะป่วยเป็นไข้เลือดออก





การบันทึกครั้งที่ 9 
วันเสาร์ ที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-10.30 น.


- อาจารย์ให้มาทำเครื่องเคาะจังหวะของตนเองโดยให้เอาอุปกรณ์มาจากบ้านและอุปกรณ์ที่อาจารย์มีอยู่โดยให้ทำเครื่องเคาะแบบไหนก็ได้และตกแต่งให้เรียบร้อยสวยงาม














ความรู้/ทักษะที่ได้รับ
- ได้ฝึกคิดและทำด้วยตนเอง 
- ได้ฝึกทักษะต่างๆในการประดิษฐ์สิ่งของ

บรรยากาศในห้องเรียน
- เย็นสบาย สนุกสนาน 

ประเมินตนเอง
- ได้ฝึกทำด้วยตนเองทำให้ได้ฝึกคิดและวางแผน

ประเมินเพื่อนร่วมชั้น
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน ตั้งใจทำงาน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- อาจารย์ใจดี สอนเข้าใจง่าย และคอยชี้แนวทางอยู่สม่ำเสมอ




การบันทึกครั้งที่ 8 
วันพุธ ที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.30-11.30 น.





ศึกษางานดูงานที่โรงเรียนพิบูลเวศม์

ฉันนั่งรถเมล์ไปขึ้น BTS และต่อรถไปลงหน้าโรงเรียนแล้วไปรวมกันตรงหน้าศาลาโรงเรียนเพื่อรอเด็กๆเข้าแถวหลังจากนั้นก็เข้าห้องประชุุมโดยครูก็แนะนำโรงเรียน







บรรยากาศในห้องประชุม


การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยมีรูปแบบการจัดการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาปฐมวัยอย่างไรบ้าง
- โรงเรียนมีการนำนวัตกรรมทางการศึกษาก็คือ
1. การบูรณาการ เน้นพัฒนาการเด็ก 4 ด้าน สอนวิทย์-คณิต รอบตัว ภาษาธรรมชาติ
2. สอนโปรเจคต่างๆ
3. พหุปัญญา

- วิธีการประเมินเด็ก คือ
1. ประเมินตามสภาพจริง การสังเกต เช่น เด็กสามารถกระโดดขาเดียวได้ไหมหรือยังไม่ค่อยคล่องแคล่ว
2. แบบประเมินพัฒนการทั้ง 4 ด้าน
3. เก็บงานของเด็ก แฟ้มประวัติรายบุคคล
บรรยากาศในห้องเรียน การทำกิจกรรมต่างๆเนื่องจากแต่ละห้องมีโปรเจคการสอนที่แตกต่างกันออกไป
























ความรู้/ทักษะที่ได้รับ
- ได้รู้จักการสอนโปรเจคต่างๆของแต่ละห้อง
- ได้รู้จักการจัดกิจกรรมให้กับเด็กมากขึ้น

บรรยากาศในห้องเรียน
- เด็กๆน่ารัก สนุกสนาน

ประเมินตนเอง
- ได้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนให้เด็ก